การมีผลบังคับใช้ ของ ธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 1931)

ออสเตรเลีย

ภาพวาด "The Big Picture" แสดงการเปิดสมัยประชุมรัฐสภาออสเตรเลีย เมื่อ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1901 โดยจิตรกร ทอม รอเบิร์ต

ออสเตรเลียได้รับธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์ในตอนที่ 2 ถึง 6 โดยตราเป็นพระราชบัญญัติการรับรองธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1942 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชัดเจนในการนิติบัญญัติของออสเตรเลียในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในการรับรองนั้นได้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังไปถึง 3 กันยายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นวันที่สหราชอาณาจักรและออสเตรเลียเข้าร่วมสงคราม

ในการรับรองเนื้อหาตอนที่ 2 ของธรรมนูญได้แจกแจงว่ารัฐสภาออสเตรเลียสามารถที่จะตรากฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสหราชอาณาจักรได้ และในการรับรองเนื้อหาตอนที่ 3 ได้อธิบายว่าออสเตรเลียสามารถมีอำนาจนิติบัญญัตินอกอาณาเขตได้ การรับรองเนื้อหาตอนที่ 4 ระบุว่าสหราชอาณาจักรสามารถมีอำนาจนิติบัญญัติต่อออสเตรเลียทั้งประเทศได้เฉพาะในกรณีที่ได้รับการร้องขอและยินยอมโดยออสเตรเลีย

อำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาสหราชอาณาจักรต่อออสเตรเลียนั้นสิ้นสุดลงกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติออสเตรเลีย ค.ศ. 1986 ซึ่งในฉบับของสหราชอาณาจักรระบุว่าได้ผ่านโดยคำร้องขอและคำยินยอมจากรัฐสภาออสเตรเลีย ซึ่งได้รับความเห็นชอบโดยรัฐสภาของรัฐต่างๆ ในออสเตรเลียในเวลาเดียวกัน[3]

แคนาดา

กฎหมายนี้จำกัดอำนาจนิติบัญญัติของรัฐสภาสหราชอาณาจักรต่อแคนาดาซึ่งมีผลทำให้แคนาดามีอิสรภาพในด้านนิติบัญญัติในฐานะของประเทศในเครือจักรภพที่ปกครองตนเองได้ อย่างไรก็ตามรัฐสภาสหราชอาณาจักรยังคงไว้ซึ่งอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญแคนาดาตามคำร้องของรัฐสภาแคนาดา ซึ่งได้มีผลมาจนถึงการผ่านรัฐธรรมนูญแคนาดา ค.ศ. 1982 ซึ่งถ่ายโอนอำนาจมาเป็นของประเทศแคนาดาอย่างสมบูรณ์ โดยถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการได้รับเอกราชอย่างเต็มตัว[4][5][6]

เสรีรัฐไอริช

นิวซีแลนด์

รัฐสภานิวซีแลนด์ได้รับธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์โดยผ่านพระราชบัญญัติการรับธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1947 เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1947 ตามด้วยพระราชบัญญัติการแก้ไขรัฐธรรมนูญนิวซีแลนด์ซึ่งผ่านรัฐสภาในปีเดียวกันโดยมีสาระสำคัญคือการยอมให้รัฐสภานิวซีแลนด์มีอำนาจเต็มในการแก้ไขรัฐธรรมนญแต่อย่างไรก็ดียังไม่ได้เพิกถอนสิทธิของรัฐสภาสหราชอาณาจักรในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญนิวซีแลนด์ ซึ่งบทบาทที่เหลืออยู่ของรัฐสภาสหราชอาณาจักรนั้นถูกยกเลิกโดยสมบูรณ์โดยรัฐธรรมนูญนิวซีแลนด์ ค.ศ. 1986 และจึงทำให้ธรรมนูญแห่งเวสต์มินสเตอร์นั้นมีผลถูกยกเลิกไปทั้งฉบับ[3][7]

นิวฟันด์แลนด์

ประเทศนิวฟันด์แลนด์ในเครือจักรภพไม่เคยรับรองธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ โดยมีสาเหตุหลักมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจต่างๆ และการคอรัปชั่น ในปีค.ศ. 1934 โดยการร้องขอจากรัฐบาลนิวฟันด์แลนด์ สหราชอาณาจักรได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการรัฐบาลขึ้นเพื่อนำการปกครองโดยตรงกลับมาใช้จนกระทั่งปีค.ศ. 1949[8] เมื่อนิวฟันด์แลนด์กลายมาเป็นรัฐหนึ่งของแคนาดาจากการออกเสียงประชามติเมื่อค.ศ. 1948[9]

สหภาพแอฟริกาใต้

แม้ว่าสหภาพแอฟริกาใต้นั้นไม่อยู่ในกลุ่มประเทศในเครือจักรภพที่จำเป็นจะต้องรับรองธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์จึงจะสามารถบังคับใช้ได้ อย่างไรก็ตามสหภาพแอฟริกาใต้ได้ผ่านพระราชบัญญัติสองฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติสถานะของสหภาพ ค.ศ. 1934 และพระราชบัญญัติอำนาจบริหารและตรา ค.ศ. 1934 โดยมีวัตถุประสงค์ในการรับรองสถานะของแอฟริกาใต้ในฐานะประเทศเอกราช[10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ (ค.ศ. 1931) http://www.cbc.ca/2017/canada-is-celebrating-150-y... http://www.bac-lac.gc.ca/eng/discover/politics-gov... http://www.sen.parl.gc.ca/nkinsella/PDF/SpecialEve... http://www.heritage.nf.ca/law/commission_gov.html http://www2.marianopolis.edu/nfldhistory/Newfoundl... http://www.legislation.gov.uk/ukpga/1931/4/pdfs/uk... http://www.parliament.uk/edm/2004-05/895 https://www.theglobeandmail.com/opinion/a-statute-... https://web.archive.org/web/20080720173301/http://... https://web.archive.org/web/20141218201437/http://...